วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 08.30-12:20

     เวลาเข้าสอน 08 : 30  เวลาเลิกเรียน 11.00

           วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ เอ๊ะ!!!!!! งั้นพรุ่งนี้ก็เป็นวันวาเลนไทน์ซิน่ะ 55 จะตื่นเต้นทำไมหนอเรามันก็แค่วันๆ   หนึ่ง เอาวันนี้ให้มันก่อนจะดีกว่า แฮร่ ... คิดไปแล้วรู้สึกว่าวันนี้เรียนชิลที่สุดหล่ะสำหรับวิชา "วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"  วันนี้นำเสนอ "สื่อเกมการศึกษาของวิชาคณิตศาสตร์"  ........  ทุกครั้งที่พูดว่า นเสนองาน รู้สึกซีเรียสและเกร็งๆยังไงไม่รู้ แต่วันนี้ดูแปลกไปไม่รู้สึกชิลมากๆ หรือเพราะว่าเป็นการเรียนครั้งสุดท้ายกันน่ะ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า วันนี้จะขอนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ที่ทำง่ายใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้ ไม่ต้องเสียตังค์เลย สื่อของกลุ่มดิฉันที่นำเสนอในวันนี้ 


                                        ชื่อสื่อ สิงห์สาราสัตว์

  วิธีการเล่น
1.             ครูจะจับรูปภาพที่เหมือนกันและแยกประเภทของสัตว์ให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อน
2.             ครูจับรูปภาพสัตว์ให้คละกัน
3.             ให้เด็กนำภาพสัตว์ที่เป็นประเภทเดียวกันมาวางเป็นกลุ่มให้ครบและถูกต้อง           


เมื่อให้เด็กเล่นแล้วมีผลอย่างไร
 เด็กเข้าใจวิธีเล่นและแยกประเภทได้อย่างถูกต้อง
ปัญหาที่พบ
ต้องอธิบายกาเล่นให้เด็กฟัง 2 รอบ เด็กถึงจะเข้าใจและเล่นได้อย่างถูกวิธี
สรุป
เมื่อให้เด็กเล่น เด็กมีความสุขและสนุกสนานในการเล่นได้รู้จักสัตว์หลายชนิด ถ้าฝึกเล่นบ่อยๆจะทำให้เด็กมีทักษะในการจับคู่และแยกประเภทได้ดียิ่งขึ้น


                    
ผลงานที่ชอบ .... ได้แก่ สื่อ     ลูกคิดหรรษา
  

วิธีการเล่น
1. อธิการวิธีการเล่นให่เด็กฟัง
2. ให้เด็กนำฝาขวดไปใส่ให้ตรงสีเดียวกัน
3.ใหเด็กลองหาวิ๊การเล่นใหม่ๆ
       
ชอบผลงานชิ้นนี้เพราะ.... เป็นผลงานที่สร้างสรรค์มากใช้ของจากวสดุเหลือใช้ มีสีสันสวยงามสะดุดตาเหมาะกับเด็กปฐมวัย และเป็นสื่อที่ช่วยเสริมพัฒนาการดีค่ะ เพื่อออกมานำเสนอได้ดีมาก

ความรู้ทีึ่ได้รับและการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน .....
   1.มีความรู้เกี่ยวกับสื่อคณิตศาสตร์มากขึ้น ...
   2. สามารถนำข้อดีข้อเสียไปดัดแปลงให้สื่อมีคูณภาพที่ดีขึ้น ...
  3. มีความรู้ว่าสื่อชิ้นใดเหมาะกับเด็กหรือไม่เหมาะกับเด็ก เพราะ สื่อนั้นทดลองการใช้งานกับเด็กมาแล้ว..
  4. ลงมือปฏิบัติการทำสื่อ รู้ว่าการทำสื่อนั้นทำอย่างไร ..


จบการศึกษา 2556  


   ปล. วัน พฤหัสบดี ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557  (งดการเรียนการสอน)

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

  บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9
เวลาเข้าสอน 08 : 30  เวลาเลิกเรียน 12.20


กิจกรรมในวันนี้  

     เขียนแผนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มละ 3 แผน ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม จุดประสงค์ การดำเนินกิจกรรม สื่อ การประเมิน และการบรูณาการ
1.กิจกรรมการนับตัวเลข 1 ถึง 10
2.กิจกรรมรูปทรงเรขาคณิต สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
3.กิจกรรมเด็กสามารถบอกจำนวนสิ่งต่าง ๆ ตามจำนวนที่กำหนดให้ ตั้งแต่ 1 -10

......อาจารย์ให้เลือกแผนการเรียนการสอนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน 1 แผน......
 แผนที่คิดว่าดีที่สุดดดด ... กิจกรรมนับเลข 1-10
ความรู้ที่ได้รับและการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

 1. รู้วิธีการเขียนแผนมากขึ้น 
 2.นำไปใช้ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้จริง และบูรณาการกับวิชาอื่นได้ด้วย
 3.แลกเปลี่ยนความคิดกันภายในกลุ่ม
 4. แลกเปลี่ยนความคิดกันภายในห้อง 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

  บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 23 มกราคม พ.ศ. 2557


ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 08.30-12:20

 วันนี้ แค่เห็นอาจารย์ถืออุปกรณ์มานี่ใช่เลย งานกลุ่ม ระบายสี ตัดกระดาษอีกแน่เลย 5555 เดาไม่ผิดจริงๆด้วย แต่หนูชอบนะค่ะ ไม่ต้องเรียนทฤษฎีให้ปวดสมอง วันนี้เราทำกัน 2 กิจกรรมเพราะอาทิตย์หน้าเราหยุด อิอิ

กิจกรรมที่ 1  กิจกรรมตัดแปะ
ให้เป็นรูปทรงคณิตศาสตร์ เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และสอดแทรกคณิตศาสตร์ด้านต่าง ๆ เข้าไปด้วย

ขั้นตอนการทำ



ผลงานของทุกกลุ่ม





ประโยชน์ที่ได้รับ/การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
 1.ได้เรียนรู้วิธีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น
 2.มีวิธีการสอนคณิตศาสตร์กับเด็ก
 3.ในหนึ่งกิจกรรมสามารถประดิษฐ์เป็นรูปต่าง เด็กได้เรียนรู้รูปทรง การเรียงจากสี การเรียงจากรูปทรงทำให้เด็กได้เรียนเรื่องพีชคณิตไปด้วย




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

  บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 16 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30-12:20




 วันนี้ได้ทำนิทาน  Big book กับเพื่อน ๆ อีกครั้ง แต่ครั้งนี้ในนิทานต้องเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต มี วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมให้สอดคล้องกับวิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อีกอย่างวันนี้เป็นวันพิเศษ คือ วันครู มีเซอร์ไพร์อาจารย์นิดหน่อย แอบซึ้ง... วันนี้เราจะมาแต่งนิทานกันนิทานเรื่องนี้มีชื่อว่าสามเกลอเจอแก๊ส แหมแค่ชื่อก็ฮาแล้ว ไปติดตามกันเลยดีกว่า

                                                                 นิทานเรื่อง สามเกลอเจอแก๊ส
กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ขี้โมโห เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง เจ่าสามเหลี่ยมเป็นคนเจ้าชู้  วันหนึ่งเจ้าเพื่อนเกลอทั้งสามได้ออกไปเที่ยวผับกัน แต่พอเข้าไปในผับแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็รู้สึกหงุดหงิดเพราะในผับเสียงดัง เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ ส่วนเจ้าวงกลมก็มัวแต่จีบสาว แล้วจู่ๆ ก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีดเพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ เจ้าวงกลมบอกให้เพื่อนเอาผ้าปิดจมูก เจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา แล้วทุกคนก็ทยอยออกจากผับ และทุกคนก็แยกย้ายกันกลับบ้านอย่างปลอดภัย
                                                                            จบ
ข้อคิดของนิทานเรื่องนี้คือ
อย่าออกไปเที่ยวผับตอนกลางคืน

ขั้นตอนการทำ




   

                                                                                               ผลงานของทุกกลุ่ม 





ประโยชน์ที่ได้รับ/ความรู้ที่นำไปใช้
อาจารย์สอนว่า กาสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้นเราไม่จำเป็นต้องสอนเยอะ เราควรจะสอดแทรกผ่านกิจกรรมเหล่านี้เพราะจะทำให้เด็กไม่เครียด รู้สึกว่าคณิตศาสตร์นั้นเป็นเรื่องที่ยาก และอีกอย่างกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สนุกได้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนๆ และคุณครู เป็นวิธีการสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยที่ดีมาก



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

วัน/เดือน/ปี 9 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 08.30-12:20

 สวัสดีปีใหม่ 2557 สวัสดีปีม้า  หลังจากที่หยุดมาหลายวันวันนี้อาจารย์เบียร์สอนเรื่อง 'กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย'

 เรียนเรื่องนี้พอสรุปเนื้อหาได้ดังต่อไปนี้  .............

 เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ?
 
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
ให้เด็กเรียนรู้แค่เพิ่มขึ้นและลดลง
 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้  

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

สาระที่ 2 : การวัด

สาระที่ 3 : เรขาคณิต

สาระที่ 4 : พีชคณิต

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

 เด็กเรียนรู้แค่ 5 สาระ        
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย ....
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking)
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงิน เหรียญ และธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา เช่น กลางวัน กลางคืน
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
เด็กจะเรียนรู้รูปเรขาคณิตสองมิติก่อนสามมิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
               
 ต้องเป็นอนุบาล 3 ขึ้นไป ..........

6. มีสาระมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
 
       การวัด การนับ การเปรียบเทียบ  การเรียงลำดับ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

 มาตรฐาน ค.. 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายขอการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

จำนวน

-         -  การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-         -  การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
-         -  การเปรียบเทียบจำนวน
-         -  การเรียงลำดับจำนวน
     - การรวมและการแยกกลุ่ม
-          - ความหมายของการรวม
-          - การรวมสิ่งต่างๆรวมกันทีมีผลรวมไม่เกิน 10
-          - ความหมายของการแยก
-          - การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด

-          มาตรฐาน ค..2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาวน้ำหนักปริมาณ เงินและเวลา

    - ความยาว / น้ำหนักและปริมาตร
-         - การเปรียบเทียบ / การวัด /การเรียงลำดับความยาว
-         - การเปรียบเทียบ/การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
-         - การเปรียบเทียบ / การตวง

      เงิน

-       ------   ชนิดและค่าของเงิน  เหรียญและธนบัตร

    เวลา

-          - ช่วงเวลาแต่ละวัน
-          - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน

สาระที่ 3 เรขาคณิต

-          มาตรฐาน ค. 3.1 รู้จักใช้คำที่ใช้ในการบอกตำแหน่ง
-          มาตรฐาน ค .3.2 รู้จักจำนวนรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

- ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
-     - การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
-     - ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-     - รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
-     - การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิต สองมิติ
-     - การสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติการเปลี่ยนรูปแบบรูป  รูปเรขาคณิต

สาระที่ 4 พีชคณิต

-          รูปแบบของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหึ่ง

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-          มาตรฐาน ค..5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมการเก็บรวบรวม

สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-          การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์อื่นๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


 ผลงานวันนี้



           โจทย์ ...   อาจารย์ให้เลือกรูปเรขาคณิตที่เตรียมไว้ให้ มี วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจตุรัส แล้วให้นักศึกษาเป็นคนเลือก คนละ 1 รูป

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
- ได้เรียนรู้ว่าเด็กเรียนคณิตศาสตร์แบบเพิ่มขึ้นและลดลง
 เด็กจะเรียนรู้รูปเรขาคณิตสองมิติก่อนสามมิติ
- ให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น รู้คุณค่าของเงิน มาก และ น้อย
- ต้องสอนให้เด็กเรียนรู้เวลา กลางวัน กลางคืน